การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้
1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้
3. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการจัดการความรู้
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้
5. ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นวิธีการหรือกระบวนการที่จะช่วยให้มีการสร้าง
รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่
ถ่ายโอนแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งต่อ
บุคคลและองค์กร โดยสามารถใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือช่วยให้การจัดการความรู้เกิดได้ง่าย
และสะดวกขึ้น
อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (วิจารณ์
พานิช, 2548) ด้วยเหตุนี้แนวคิดเรื่องการ
จัดการความรู้ (Knowledge Management) จึงถูกนำมาใช้ในหน่วยงานราชการแทบทุกแห่งเพื่อให้สามารถพัฒนา
แข่งขันและดำรงองค์กรให้อยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคปัจจุบัน (สำนักพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต, 2546) ซึ่งปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ในการจัดการความรู้ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ที่สะดวกรวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย
ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรก็จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์การอย่างสมดุลเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที
(Information and
communication Technology;
ICT)
เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา
จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ* ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลัก
คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้
1. เทคโนโลยีการสื่อสาร
(communication
technology)
ช่วยให้บุคลากร
สามารถเข้าถึง ความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นสะดวกขึ้นรวมทั้ง
สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ
ค้นหาข้อมูลสารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทาง
เครือข่ายอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต
2. เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน
(collaboration
technology)
ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทางตัวอย่างเช่น โปรแกรมกลุ่ม groupware ต่าง ๆ
หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น
3. เทคโนโลยีในการจัดเก็บ
(storage technology)
ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้น ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถจัดการและจัดเก็บ
ความรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
4. สังคมเครือข่าย (social networking)
ปัจจุบันเครื่องมือด้านเทคโนโลยีได้มีการพัฒนา ย่างรวดเร็วและมีการปรับ เปลี่ยนพัฒนาตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคปัจจุบัน ระบบสังคมเครือข่ายบนโลกออนไลน์กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูง เนื่องจากเป็นการพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตที่ตอบสนองตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค
บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1. การศึกษา
นำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการบริหาร
ด้านการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียนและระบบการจัดตารางสอนนอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูลทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัดมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
2. การดำรงชีวิตประจำวัน
ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง
3. การดำเนินธุรกิจ
ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลาอันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มตั้งแต่การทำทะเบียนคนไข้
การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ งานศึกษา
ค้นคว้าข้อมูลรักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร
5. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น
การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร
6. ด้านการเงินธนาคาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและการธนาคาร
โดยใช้ช่วยด้านการบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ และเปลี่ยนเงินตรา
บริการข่าวสารธนาคาร
การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น
บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์
7. ด้านความมั่นคง
เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร
การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบจัดทำทะเบียนปืน
ทะเบียนประวัติอาชญากร
ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ
8. ด้านการคมนาคม
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น
การเดินทางโดยรถไฟ มีการเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี
ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร การเช็คอินของสายการบิน
ได้จัดทำเครื่องมือที่สะดวกต่อลูกค้า ในรูปแบบของการเช็คอินด้วยตนเอง
9.
ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น
การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง
10. ด้านการพาณิชย์
องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหาร
จัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน
ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ
ของแต่ละหน่วยงานในองค์กรหรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าทั่วไป
สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร
11. ด้านอุตสาหกรรม
ช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม
การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน
และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น
โรงงานสารเคมี โรงผลิตและการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการจัดการความรู้
1.ช่วยในการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์การ
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ
2.เพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้นและพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้สามารถทำได้ง่ายขึ้นหากมีการนำความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต
4.ช่วยให้ความรู้ที่มีอยู่แพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์การอย่าง
สมดุลเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร/ชุมชน/หน่วยงาน
5.ช่วยปรับปรุงโครงสร้างภายในองค์กร
เพื่อให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่น ลดการแบ่งแยกตามระบบงาน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ซึ่งกันและกัน
6. เป็นเครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
จะเห็นได้ว่าไอซีทีมีบทบาทสำคัญในเรื่องของการจัดการความรู้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตที่เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วย
กันทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge Transfer) ทำได้ดียิ่งขึ้น
อีกทั้งไอซีทียังช่วยให้การนำเสนอสามารถเลือกได้หลายรูปแบบเช่น ตัวอักษร รูปภาพ
แอนิเมชั่น เสียง วิดีโอ
ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้นนอกจากนี้ ไอซีทียังช่วยในการจัดเก็บและดูแลปรับปรุงความรู้และสารสนเทศต่างๆ (knowledge
storage and maintenance)อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย
จึงนับได้ว่า ICT เป็นเครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการความรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น